ถังอ๊อกซิเจนพกพา ชุด MD Catalina USA

฿7,990.00

ใน1ชุดประกอบด้วย:

  • ถังอ๊อกซิเจนทางการแพทย์ แบบ อลูมิเนียม ขนาด MD (2.9 ลิตร) Catalina USA
  • เกจ์วัดแรงดัน (Clickstep)
  • กระเป๋าใส่ถังออกซิเจนอะลูมิเนียม
  • สายเสียบจมูก (Cannula hose) 2ชุด
  • หน้ากากให้ออกซิเจน (Oxygen Mask) 1ชุด
  • หัวเติม อะแดปเตอร์

มีก๊าซเต็มถัง 2000ปอนด์ พร้อมใช้ได้เลย

คำอธิบาย

ถังอ๊อกซิเจนพกพา ชุด MD Catalina USA (2.9 ลิตร)

ใน1ชุดประกอบด้วย:

  • ถังอ๊อกซิเจนพกพา ชุด MD Catalina USA
  • เกจ์วัดแรงดัน (Clickstep)
  • กระเป๋าใส่ถังออกซิเจนอะลูมิเนียม
  • สายเสียบจมูก (Cannula hose) 2ชุด
  • หน้ากากให้ออกซิเจน (Oxygen Mask) 1ชุด

มีก๊าซเต็มถัง พร้อมใช้ได้เลย

 

บริการส่งสินค้าทั่วประเทศ

ส่งฟรี!!

 

 

ถังอ๊อกซิเจน คุณสมบัติ
ถังอ๊อกซิเจนพกพา ชุด MD Catalina USA
ถังอลูมิเนียมไร้รอยต่อ
คุณภาพมารตรฐาน  DOT/TC
ความดัน 139 บาร์ (2,015 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
สูง 51 ซม – กว้าง 11 ซม
น้ำหนัก 3.4 กิโลกรัม พร้อมใช้ได้เลย
วาล์ว CGA870, Pin Index

มีอ๊อกซิเจนสำหรับ:
3 ชั่วโมงและ 10 นาที (2 ลิตร/นาที 2000 psi)
2 ชั่วโมงและ 7 นาที (3 ลิตร/นาที 2000 psi)
2 ชั่วโมงและ 23 นาที (2 ลิตร/นาที 1500 psi)
1 ชั่วโมงและ 35 นาที (3 ลิตร/นาที 1500 psi)

เกจวัดแรงดัน คุณสมบัติ
เป็นผลิตภัณฑ์ Nissen Healthcare TM
ชุดปรับแรงดันออกซิเจน ปรับแรงดันไว้ที่ 50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) ทำจากทองเหลืองชุปโครเมียมทั้งสองด้าน
ข้อต่อเข้าถังออกซิเจน เป็นมาตรฐาน CGA 870 PinIndex มีตัวกรองฝุ่นละออง
หน้าปัดเกจ์ออกซิเจนแสดงความดันภายในถัง 0-3000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) พร้อมอักษรเตือน USE NO OIL
ชุดปรับอัตราการไหลของก๊าซออกซิเจน (Oxygen adjuster)
ปรับอัตราการไหล 0-15 ลิตร/นาที Calibrated at 20C and psi
ความถูกต้อง +-10%
ข้อต่อใต้ชุดปรับอัตราการไหลเป็นแบบ (hose barb) Connection
ตัวเรือนเป็นอลูมิเนียม พร้อมแกนทองเหลือง
สายแคนนูล่า (Cannula)
ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO 13485
รับประกันคุณภาพ 2 ปี (จากการใช้งานปกติ)

กระเป๋าใส่ถังออกซิเจนอลูมิเนียม
ทำจากผ้า Oxford แข็งแรงและทนทานใช้งานได้นานขึ้น

 

อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจน

ส่วนมากผู้ป่วยที่ต้องให้ออกซิเจนที่บ้าน มักใช้อุปกรณ์ชนิด (nasal cannula) หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก เพราะก๊าซออกซิเจนที่ผ่านทางสายเข้าสู่จมูก มักจะแรงดันต่ำและไม่รุนแรงมากนัก มีผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด หรือโรคหัวใจบางรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนที่รุนแรงมาก จำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์สำหรับช่วยหายใจผู้ป่วย ในรูปแบบอื่นๆด้วยกัน ดังนี้

  • Nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก

คุณลักษณะ

ใช้สำหรับการอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที

การใช้

นำสายพลาสติกเล็กๆเสียบเข้าที่โพรงจมูก เพื่อนำออกซิเจนผ่านสายเข้าสู่จมูก ควรมีระดับความลึกในจมูกประมาณ 1 ซม.

ข้อดี คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายจมูกและการหายใจที่สะดวก กว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาที่ถูก

อัตราการช่วยหายใจจากการใช้ออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะได้รับ

1 L/min = 24 %

2 L/min = 28 %

3 L/min = 32 %

4 L/min = 36 %

5 L/min = 40 %

6 L/min = 44 %

ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน

จากการที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนนั้น จะมีการแปรผันตามการหายใจ หากหายใจเร็วหรือหอบ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และหากเปิดออกซิเจนแรงเกิน จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก

  • Simple Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน

คุณลักษณะ

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที

การใช้

ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า

อัตราการช่วยหายใจจากการใช้ออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะได้รับ

5-8 L/min = 50-60%

ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน

ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 L/min เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ (บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก)

  • High Concentration Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุง

คุณลักษณะ

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที

การใช้

ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตได้จากถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วย

อัตราการช่วยหายใจจากการใช้ออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะได้รับ

6-10 L/min = 55-70 %

ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน

ห้ามเปิดระดับออกซิเจน น้อยกว่า 6 L/min เช่นเดียวกับ simple mask (หน้ากากออกซิเจน)

การให้ออกซิเจนเหมาะสำหรับ

ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย ที่ต้องใช้ Oxygen เพื่อการบำบัดอาการป่วย ที่บ้าน หรือ ระหว่างเดินทางไป รพ.

ผู้ที่มีภาวะ การหายใจบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หอบหืด อื่นๆ

ผู้ที่เหน็ดเหนื่อยจากการเล่นกีฬา ออกกำลัง ทุกประเภท

ผู้ที่อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่านหนังสือดึก หรือเกิดความเครียด

ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีมลภาวะในอากาศสูง เช่น สถานที่จราจรหนาแน่น

ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางขึ้นสู่ที่สูง ภูเขาสูง อาคารสูงมากๆ ซึ่งมีอากาศหรือออกซิเจนเบาบางลง

ผู้ที่ทำงานหนัก ทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย พื้นที่มีสารเคมีเป็นพิษ ที่อากาศไม่ถ่ายเท

บุคคลทั่วไปที่ต้องการรับออกซิเจนบริสุทธิ์ เพื่อความสดชื่น

ใช้เป็นอุปกรณ์กู้ชีพฉุกเฉิน เพื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับหน่วยกู้ภัย

ประโยชน์จากการให้ออกซิเจน

การให้ออกซิเจนบางครั้งเรียกว่า การบำบัดด้วยออกซิเจน (oxygen therapy) เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด

เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ระบบการหายใจบกพร่อง ภาวะการเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ตัวนำออกซิเจนน้อยจากเสียเลือดมาก มีภาวะโลหิตจาง และสมองได้รับการบาดเจ็บ

 

วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจน

  • เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด กรณีที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เซลล์อยู่ในภาวะขาดออกซิเจนไปด้วย
  • ลดการทำงานของระบบหายใจ เช่น กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ถ้าต้องใช้มากเพื่อให้หายใจเอาออกซิเจนได้พอเพียง จะทำให้อ่อนแรงในที่สุดการให้ออกซิเจนจึงช่วยให้ใช้กล้ามเนื้อหายใจลดลง
  • ลดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ในภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน ผู้ป่วยจะมีชีพจรเร็ว หัวใจบีบตัวแรง ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิม เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน การที่หัวใจต้องทำงานมากขึ้น อาจทำให้หยุดทำงานและเสียชีวิตได้

ซื้อของออนไลน์ ที่  www.LeeOxygen.com

ติดต่อผ่านช่องทางการสั่งซื้อได้ทั้งหมด ดังนี้

E-mail : mail@leeoxygen.com
โทรศัพท์ : 080-019-9979, 034-27-2020, 087-978-1116

Notice the warnings on the label and accompanying documents before use.

ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์

ประเภทเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ที่ได้รับอนุญาต

ใบจดทะเบียนที่ กท. สน. 397 / 2560

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำหนัก 4 กก.
Back to Top